โรคกรดไหลย้อน ท้องอืด เรอเปรี้ยว หนึ่งในโรคระบบย่อยอาหารที่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
กว่า 83% ของคนไทยได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคกรดไหลย้อน ซึ่งมีอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และท้องอืดร่วมด้วย ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ ไม่มีการดูแลหรือไม่ได้รับการรักษา ก็อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่อันตรายกว่าที่คิด วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคกรดไหลย้อน พร้อมวิธีบรรเทา และรักษา เพื่อป้องกันปัญหาแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
โรคกรดไหลย้อนคืออะไร?
โรคกรดไหลย้อนเป็นภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงหลังรับประทานอาหาร สามารถเกิดจากทั้งการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารหรือเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น
- การทานอาหารไม่เป็นเวลาหรือนอนหลังรับประทานอาหารเสร็จทันที
- การทานอาหารปริมาณมากในมื้อเดียวหรือทานอาหารเร็วเกินไป
- การทานอาหารมัน ๆ เช่น ของทอด และดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรืออยู่ในระหว่างที่ตั้งครรภ์
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด
- มีความเครียดสะสม
ทำไมคนไทยเสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อน?
คนไทยถึงเสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อนกันมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรม และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตที่เร่งรีบ การที่จะต้องทานอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มันและย่อยยาก เพราะสามารถหาซื้อได้ง่ายและรวดเร็ว หรือแม้กระทั่งการเลิกงานดึก ทำให้ต้องทานอาหารและเข้านอนทันที รวมถึงการอยู่ในสังคมที่มีความกดดันและการแข่งขัน ทำให้สะสมความเครียด ด้วยปัจจัยเหล่านี้ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกรดไหลย้อนทั้งสิ้น
ลักษณะอาการที่บ่งชี้ถึงโรคกรดไหลย้อน
เราจึงรวบรวมลักษณะอาการที่บ่งชี้ถึงโรคกรดไหลย้อน ลองสังเกตว่า คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่
- ความรู้สึกแสบร้อนกลางอกหรือลำคอภายหลังรับประทานอาหาร
- มีของเหลวรสเปรี้ยว เค็ม หรือขมไหลขึ้นมาที่ลำคอร่วมกับมีอาการกลืนยาก
- แน่นหน้าอก
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- เรอเปรี้ยว
- รู้สึกวิงเวียนศีรษะ
- คลื่นไส้อาเจียน
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หากไม่รักษาโรคกรดไหลย้อน
เมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือเป็นกรดไหลย้อนเรื้อรัง และหากปล่อยทิ้งไว้ ไม่บรรเทาอาการหรือรับการรักษา สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินอาหารของคุณได้ ไม่ว่าจะเป็น
- อาการหลอดอาหารอักเสบ เนื่องจากกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนกลับขึ้นสู่หลอดอาหาร
- หลอดอาหารตีบ ส่งผลให้กลืนอาหารลำบาก เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต
- เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร
วิธีการบรรเทาและรักษาโรคกรดไหลย้อน
การบรรเทา และรักษาโรคกรดไหลย้อน ทำได้ไม่ยากด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการใช้ยา เพื่อบรรเทาอาการ แต่ในกรณีที่มีอาการกรดไหลย้อนขั้นรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด โดยขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการเปลี่ยนจากการทานอาหารมื้อหนัก 3 มื้อเป็นการทานหลายมื้อในปริมาณที่น้อยลง หลีกเลี่ยงการทานอาหารแล้วเข้านอนทันที หลีกเลี่ยงอาหารย่อยยาก เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และงดพฤติกรรมการสูบบุหรี่
- การใช้ยา บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว อาหารไม่ย่อยจากกรดเกินด้วยยาลดกรดและป้องกันกรดไหลย้อนที่ออกฤทธิ์เร็ว และยาวนาน สามารถยับยั้งการไหลย้อนของกรดในกระเพาะ
- การผ่าตัด สำหรับใครที่มีอาการกรดไหลย้อนเรื้อรังจากสาเหตุหูรูดเสื่อม ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
ยาลดกรดและป้องกันกรดไหลย้อน ตัวช่วยสำคัญในการบรรเทาอาการกรดไหลย้อน
เมื่อมีอาการกรดไหลย้อน สามารถบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก และอาหารไม่ย่อยที่เกิดจากกรดไหลย้อน ด้วยยาลดกรดและป้องกันกรดไหลย้อนที่จะช่วยสร้างแพเจลลอยตัวด้านบนสุดเหนือของเหลวในกระเพาะอาหาร เพื่อยับยั้งการไหลย้อนกลับของกรดและน้ำย่อยขึ้นสู่หลอดอาหาร โดยยาลดกรดและป้องกันกรดไหลย้อนจากประเทศอังกฤษจะสร้างแพเจลที่แข็งแรงเป็นพิเศษ สามารถออกฤทธิ์บรรเทาอาการได้ยาวนานพิเศษถึง 4 ชั่วโมง และปลอดภัยต่อคุณแม่ที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
จากข้อมูลที่พบว่า 83% ของคนไทยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการหันมาใส่ใจดูแลระบบย่อยอาหารให้มากขึ้น ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อสุขภาพที่ดี เพราะโรคกรดไหลย้อนเป็นอีกหนึ่งโรคทางเดินอาหารที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เนื่องจากอาจเป็นอันตรายหากมีการปล่อยทิ้งไว้ และหากคุณกำลังเผชิญกับโรคกรดไหลย้อนหรืออาการแสบร้อนกลางอก แน่นท้องทำไง วางใจให้ยาลดกรดและป้องกันกรดไหลย้อนที่ออกฤทธิ์รวดเร็ว บรรเทาอาการได้ยาวนานกว่า 4 ชั่วโมง ช่วยดูแลปัญหาของคุณ
แหล่งอ้างอิงบทความที่เกี่ยวข้อง
- อาการแสบร้อนกลางอก สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลและป้องกัน https://www.giexpert.in.th/symptoms/heartburn/
ที่มา : บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย)
โพสต์ : พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์
เผยแพร่ : พีอาร์ นิวส์ ไทยแลนด์
แสดงความเห็น